วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552


1.การควบคุมการเคลื่อนไหวหรือการแสดงของรูปภาพ (แถบเครื่องมือ Motion)
โดยสามารถทำให้รูปภาพขยายและหมุนเพื่อความหลากหลายของการแสดงผล โดยการใช้แถบเครื่องมือ Motion













รูปภาพ 1 แสดงการกำหนดการแสดงของรูปภาพ

- เลือก Motion Effects หรือ Slide ที่แถบเครื่องมือด้านบน
- จะปรากฏไดอาล็อก Slide Options เลือกเมนู Motion Effects ทางด้านซ้ายมือในกรณีที่เลือกเมนู Slide ที่แถบเครื่อง
ใน Motion นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะที่สามารถกำหนดได้ คือ
การปรับรูปภาพที่ Starting Position เพื่อกำหนดลักษณะของรูปภาพในขณะที่เริ่มต้นการโชว์สไลด์


รูปภาพ 2 แสดงการกำหนดรูปภาพในขณะเริ่มต้นการโชว์สไลด์
- ปรับที่ Zoom เพื่อทำการขยายรูปภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือการบีบรูปภาพให้มีขาดเล็กลง
- ปรับที่ Rotate เพื่อกำหนดการหมุนของรูปภาพว่าต้องการให้รูปภาพหมุนกี่องศาในเวลาที่ทำการโชว์สไลด์


การปรับรูปภาพที่ Ending Position เพื่อกำหนดลักษณะของรูปภาพในขณะที่จะจบการโชว์สไลด์




















รูปภาพ 3 แสดงการกำหนดรูปภาพในขณะจบการโชว์สไลด์
- ปรับที่ Zoom เพื่อทำการขยายรูปภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือการบีบรูปภาพให้มีขาดเล็กลง
- ปรับที่ Rotate เพื่อกำหนดการหมุนของรูปภาพว่าต้องการให้รูปภาพหมุนกี่องศาในเวลาที่ทำการโชว์สไลด์
* คลิกที่ Done เมื่อกำหนดได้ตามที่ต้องการ (เราสามารถเลือกรูปภาพอื่นๆ เพื่อทำการปรับรูปภาพ สามารถที่จะเลือกได้ที่ ลูกศรที่อยู่ด้านล่างของรูปภาพตัวอย่าง และสามารถทำการแสดงเพื่อเป็นตัวอย่าง โดยคลิกที่ Play)
2. การใส่ตัวอักษรให้กับรูปภาพ















รูปภาพ 4 แสดงการใส่ข้อความในรูปภาพ
การใช้เครื่องมือ Captions เพื่อกำหนดข้อความต่างๆ ให้กับรูปภาพ โดยสามารถกำหนดขนาดและแบบของตัวอักษรได้ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
- เลือก Caption หรือ Slide ที่แถบเครื่องมือด้านบน


การเพิ่มข้อความที่ Selected Caption





รูปภาพ 5 แสดงการใส่ข้อความในรูปภาพ
พิมพ์ข้อความที่ต้องการให้แสดงบนรูปภาพ ที่ Selected Caption และสามารถพิมพ์ข้อความได้มาก 1 ข้อความ

การจัดการกับข้อความที่ Caption List














รูปภาพ 6 แสดงการเพิ่ม - ลบข้อความ
- เลือกเพื่อเพิ่มข้อความอีกโดยการพิมพ์ที่ Selected Caption
- สามารถที่จะลบข้อความที่เราไม่ต้องการได้
- เพื่อเลือกดูหรือแก้ไขข้อความข้างบน ในกรณีที่มีข้อความมากกว่า 1 ข้อความ
- เพื่อเลือกดูหรือแก้ไขข้อความข้างล่าง ในกรณีที่มีข้อความมากกว่า 1 ข้อความ
การกำหนดตัวอักษร






รูปภาพ 7 แสดงการกำหนดแบบตัวอักษร
เลือก Caption Format เพื่อเลือกแบบตัวอักษรและขนาดของข้อความที่มีการพิมพ์ที่ Selected Caption


การกำหนดสีข้อความ













รูปภาพ 8 แสดงการกำหนดสีของข้อความ
เลือก Caption Color โดยการเลือกที่ Set Color เพื่อทำการเลือกสีข้อความที่พิมพ์ไว้ที่ Selected Caption ตามที่ต้องการ
การกำหนดตำแหน่งของข้อความ






รูปภาพ 9 แสดงการกำหนดตำแหน่งของข้อความ
เลือก Caption Placement เพื่อเลือกตำแหน่งของข้อความ โดยสามารถจัดข้อความให้ชิดซ้าย ชิดขวา และกึ่งกลาง
การกำหนด Effects ให้กับข้อความ







รูปภาพ 10 แสดงการเลือก Effects ให้กับข้อความ
- Fly In ข้อความที่มีรูปแบบหรือลักษณะการเลื่อนเข้า
- Normal ข้อความที่มีรูปแบบหรือลักษณะปกติ
- Fly Out ข้อความที่มีรูปแบบหรือลักษณะการเลื่อนออก
เลือก Text Effects เพื่อเลือก Effects ให้กับข้อความ โดยสามารถคลิกที่ Down List หรือที่ Browse หากเราเลือกที่ Browse เราสามารถดูตัวอย่างของ Effects ข้อความได้

การกำหนดสีเส้นตัวอักษร









รูปภาพ 11 แสดงการกำหนดสีเส้นตัวอักษร
- คลิกที่ OFF ให้เป็น ON ภาพด้านซ้ายมือ
- คลิกที่ Set Color เพื่อสีเส้นให้กับตัวอักษร ภาพด้านขวามือ


การกำหนดสีแรงเงาให้กับตัวอักษร














รูปภาพ 12 แสดงการกำหนดสีแรงเงา
- คลิกที่ OFF ให้เป็น ON ภาพด้านซ้ายมือ
- คลิกที่ Set Color เพื่อสีแรงเงาให้กับตัวอักษร ภาพด้านขวามือ
* คลิกที่ Done เมื่อกำหนดได้ตามที่ต้องการ (เราสามารถเลือกรูปภาพอื่นๆ เพื่อกำหนอข้อความอีก สามารถที่จะเลือกได้ที่ ลูกศรที่อยู่ด้านล่างของรูปภาพตัวอย่าง และสามารถทำการแสดงเพื่อเป็นตัวอย่าง โดยคลิกที่ Play)
3. การใส่พื้นหลังให้กับรูปภาพ












รูปภาพ 13 แสดงการกำหนดพื้นหลังรูปภาพ

การกำหนดพื้นหลังใช้เมนู Background เพื่อกำหนดพื้นหลังให้กับรูปภาพ มีวิธีการดังนี้
- เลือก Background หรือ Slide ที่แถบเครื่องมือด้านบน
- จะปรากฏไดอาล็อก Slide Options เลือกเมนู Background ทางด้านซ้ายมือในกรณีที่เลือกเมนู Slide ที่แถบเครื่องมือ
การกำหนดรูปแบบของพื้นหลัง
1. กำหนดสีของพื้นหลังรูปภาพ



รูปภาพ 14 แสดงการเลือกว่าต้องการจะกำหนดสีพื้นหลัง
- คลิกเครื่องหมายถูกที่ On/Off
- กำหนด Type เพื่อเลือกรูปแบบของพื้นหลัง
- เลือก Solid Color Background เพื่อเลือกว่าต้องการกำหนดสีของพื้นหลัง



















รูปภาพ 15 แสดงการกำหนดสีพื้นหลัง
- เลือกที่ Set Color เพื่อทำการเลือกสีพื้นหลังตามที่ต้องการ
2. การกำหนดรูปภาพเป็นภาพพื้นหลัง



รูปภาพ 16 แสดงการเลือกว่าต้องการจะกำหนดภาพพื้นหลัง
- การกำหนดรูปภาพเป็นภาพพื้นหลังให้คลิกที่ Image Background






รูปภาพ 17 แสดงการเพิ่มรูปภาพจากแฟ้ม
- คลิก Browse เพื่อเลือก
· เลือก Add Image File เพื่อเลือกรูปภาพจากแฟ้มที่ต้องการทำเป็นพื้นหลัง
· เลือก Add From Media Source เพื่อเลือกภาพพื้นหลังจากโปรแกรม















รูปภาพ 18 แสดงการเลือกรูปภาพ
- เลือกรูปภาพเป็นภาพพื้นหลัง หลังจากนั้นคลิก Open






รูปภาพ 19 แสดงการแก้ไขภาพพื้นหลัง
- การแก้ไขภาพพื้นหลัง
· Rotate เพื่อแก้ไขภาพพื้นหลังให้หมุนว่าต้องการให้ภาพพื้นหลังอยู่ในลักษณะใด
· Flip เพื่อแก้ไขภาพพื้นหลังให้สลับด้านซึ่งมี 2 ลักษณะคือ
1. Vertical เพื่อให้ภาพพื้นหลังสลับจากด้านซ้ายไปด้านขวา
2. Horizontal เพื่อให้ภาพพื้นหลังสลับจากด้านล่างไปด้านบน


รูปภาพ 20 แสดงการแก้ไขสีภาพพื้นหลัง
- เปลี่ยนสีของภาพพื้นหลังที่ Colorize โดยคลิกที่เครื่องหมายถูกที่ ON แล้วเลือกที่ Set Color
- หลังจากนั้นทำการเปลี่ยนของภาพพื้นหลังตามที่ต้องการ










รูปภาพ 21 แสดงการกำหนดการปรับความสว่างและความคมชัดของภาพพื้นหลัง
กำหนดความสว่างต่างๆ ให้กับรูปภาพสามารถทำการปรับเปลี่ยนที่ Adjustments
- Brightness เพื่อปรับความสว่าง
- White point เพื่อปรับให้ภาพเป็นสีขาว
- Black point เพื่อปรับให้ภาพเป็นสีดำ
- Contrast เพื่อปรับภาพระหว่างภาพที่เป็นสีขวาและภาพที่เป็นสีดำ
- Hue เพื่อปรับความมืดหรือความสว่างของสี
- Sharpen เพื่อปรับภาพให้มีความคมชัดมมากยิ่งขึ้น
4. การใส่เพลงให้กับไฟล์วิดีโอ
การใช้เมนู Music เพื่อใส่เสียงเพลงในไฟล์วิดีโอ มีวิธีการดังนี้












รูปภาพ 22 แสดงการใส่เสียงเพลงในไฟล์วิดีโอ
- เลือกเมนู Music ที่แถบเครื่องมือด้านบน
- จะปรากฏไดอาล็อก Show Soundtrack

การกำหนดความดังเสียง
รูปภาพ 23 แสดงการควบคุมเสียง
สามารถปรับขนาดความดังของเสียงเพลงได้ตามความต้องการ ซึ่งสามารถปรับได้
ตั้งแต่ 0 – 100 %
การเพิ่มเสียงเพลงในไฟล์วิดีโอ














คลิกที่ Add เลือก Add Sound File เพื่อเลือกไฟล์เพลงที่ต้องการมาใส่ในไฟล์วิดีโอ
















รูปภาพ 24 แสดงการเลือกเสียงเพลง
- เมื่อคลิกที่ Add Sound File แล้วจะปรากฏไดอาล็อกเพื่อให้ทำการเลือกเสียงเพลงที่จะนำมาใส่ในไฟล์วิดีโอ
- คลิก Open
การเพิ่ม – ลบ เสียงเพลง
รูปภาพ 25 แสดงการเลือกเสียงเพลงเรียบร้อยแล้ว

เมื่อนำเสียงเพลงมาใส่เรียบร้อยแล้ว เราสามารถเพิ่มหรือลบเสียงเพลงได้ คือ
- เพื่อเพิ่มเสียงเพลงเข้ามาอีก
- เพื่อลบเสียงเพลงที่ไม่ต้องการออก
- เพื่อเล่นเพลงที่ได้เลือกมาเป็นตัวอย่าง
- เพื่อเลือกเสียงเพลงด้านบน
- เพื่อเลือกเสียงเพลงด้านล่าง

การปรับเสียงเพลง














รูปภาพ 26 แสดงการปรับเสียงเพลง
- Volume การกำหนดความดังของเสียงเพลง
- Fade In การปรับเสียงเพลงให้มีเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ
- Fade Out การปรับเสียงเพลงให้เสียงค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ
- Timing การกำหนดจังหวะการเล่นของเพลงหรือการตัดเพลงให้มีขนาดพอดีกับรูปภาพใน สไลด์โชว์
การกำหนดจังหวะของเสียงเพลง







รูปภาพ 27 แสดงการกำนหดจังหวะของเพลง
- เมื่อเลือกที่ Timing โดยคลิกที่ Edit Fades and Timing ก็จะมีไดอาล็อกของ Edit Fades and Timing เพื่อให้เราสามารถกำหนดจังหวะของเพลงได้ โดยการนำเมาส์ไปคลิกที่ปลายเส้นคั่นให้เป็นรูปมือ แล้วลากเส้นคั่นไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
- Zoom เพื่อขยายความถี่ของเสียงเพลง
- (Start Here) เมื่อทำการลากเส้นคั่นด้านหน้าไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อกำหนดว่าให้เพลงเริ่มเล่นที่ตำแหน่งนี้
- (End Here) เมื่อทำการลากเส้นคั่นด้านหลังไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อกำหนดว่าให้เพลงจบการเล่นที่ตำแหน่งนี้
- (Play) เพื่อเล่นเพลงที่ได้กำหนดจังหวะไว้เป็นตัวอย่าง
- (Pause) เพื่อหยุดการเล่นเพลงชั่วขณะ และสามารถเล่นเพลงต่อจากที่ได้หยุดไว้ โดยไม่ต้องเล่นซ้ำใหม่
- (Stop) เพื่อหยุดเล่นเพลงทั้งหมด ถ้าหากว่าจะเล่นเพลงใหม่ก็จะต้องเล่นซ้ำ



รูปภาพ 28 แสดงเวลาของการกำหนดจังหวะของเพลง
- Start บ่งบอกถึงเวลาที่เริ่มการเล่นของเพลง ที่มีการกำหนดจังหวะของเพลงไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะกำหนดเป็นวินาที
- End บ่งบอกถึงเวลาที่จบการเล่นของเพลงที่มีการกำหนดจังหวะของเพลงไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะกำหนดเป็นวินาที
- Fade In แสดงเวลาในการปรับเสียงเพลงให้มีเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะกำหนดเป็นวินาที
- Fade Out แสดงเวลาการปรับเสียงเพลงให้เสียงค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งจะกำหนดเป็นวินาที
* เราสามารถที่จะกำหนดจังหวะของเพลงโดยการพิมพ์เวลาใส่ใน Start, End, Fade In, Fade Out ได้โดยไม่ต้องไปบากเส้นคั่นของเพลง
5. การใส่เสียงบันทึกในไฟล์วิดีโอ















รูปภาพ 29 แสดงการใส่เสียงบันทึกในไฟล์วิดีโอ
- เลือก Sound หรือ Slide ที่แถบเครื่องมือด้านบน
- จะปรากฏไดอาล็อก Slide Options เลือกเมนู Sound ทางด้านซ้ายมือในกรณีที่เลือกเมนู Slide ที่แถบเครื่องมือ

การเพิ่มสียงบันทึก



รูปภาพ 30 แสดงการเพิ่มเสียงบันทึก
- คลิกที่ Browse เลือก Add Sound File เพื่อเลือกเสียงบันทึก















รูปภาพ 31 แสดงการเลือกเสียงบันทึก
- เลือกเสียงบันทึกที่ต้องการนำเข้ามาใส่ในไฟล์วิดีโอ
- คลิก Open




รปภาพ 32 แสดงการเลือกเพื่อตัดเสียง
- เลือก Trim Audio คลิกที่ Edit Fades and Timing เพื่อทำการตัดเสียงบันทึกเพื่อให้เสียงบันทึกนั้นๆ พอดีกับรูปภาพ









รูปภาพ 33 แสดงการตัดเสียงบันทึก
- เมื่อเลือกที่ Timing โดยคลิกที่ Edit Fades and Timing ก็จะมีไดอาล็อกของ Edit Fades and Timing เพื่อให้เราสามารถตัดเสียงบันทึกได้ โดยการนำเมาส์ไปคลิกที่ปลายเส้นคั่นให้เป็นรูปมือ แล้วลากเส้นคั่นไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
- Zoom เพื่อขยายความถี่ของเสียงบันทึก
- (Start Here) เมื่อทำการลากเส้นคั่นด้านหน้าไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อกำหนดว่าให้เสียงบันทึกเริ่มเล่นที่ตำแหน่งนี้
- (End Here) เมื่อทำการลากเส้นคั่นด้านหลังไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อกำหนดว่าให้เสียงบันทึกจบการเล่นที่ตำแหน่งนี้
- (Play) เพื่อเล่นเสียงบันทึกที่ได้ตัดไว้เป็นตัวอย่าง
- (Pause) เพื่อหยุดการเล่นเสียงบันทึกชั่วขณะ และสามารถเล่นเสียงบันทึกต่อจากที่ได้หยุดไว้ โดยไม่ต้องเล่นซ้ำใหม่
- (Stop) เพื่อหยุดเล่นเสียงบันทึกทั้งหมด ถ้าหากว่าจะเล่นเสียงบันทึกใหม่ก็จะต้องเล่นซ้ำ



รูปภาพ 34 แสดงเวลาของการตัดเสียงบันทึก
- Start บ่งบอกถึงเวลาที่เริ่มการเล่นของเพลง ที่มีการกำหนดจังหวะของเพลงไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะกำหนดเป็นวินาที
- End บ่งบอกถึงเวลาที่จบการเล่นของเพลงที่มีการกำหนดจังหวะของเพลงไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะกำหนดเป็นวินาที
- Fade In แสดงเวลาในการปรับเสียงเพลงให้มีเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะกำหนดเป็นวินาที
- Fade Out แสดงเวลาการปรับเสียงเพลงให้เสียงค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งจะกำหนดเป็นวินาที
* เราสามารถที่จะกำหนดจังหวะของเพลงโดยการพิมพ์เวลาใส่ใน Start, End, Fade In, Fade Out ได้โดยไม่ต้องไปบากเส้นคั่นของเพลง

6. การสร้างรูปแบบการแสดงผล

รูปภาพ 35 แสดงรูปแบบการแสดงผล
- DVD เพื่อสร้าง DVD สำหรับเปิดฟังกับเครื่องรับโทรทัศน์
- Device อุปกรณ์เพื่อสร้างภาพหรือหนังในเทปวิดีโอ (เสียงพูด, สื่อมัลติมีเดีย)
- Share Show Online ใส่ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไปยังเครื่องส่วนกลางและนำไปแสดงที่ Photodex.com
- Video File เพื่อสร้างไฟล์วิดีโอในลักษณะและรูปแบบต่างๆ
- Web Show เพื่อการสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อเชื่อมกับเว็บไซต์
- VCD Disc สร้างแผ่นซีดีภาพหรือวิดีโอเพื่อใช้เปิดกับโทรทัศน์
- PC Executable สร้างสื่อมัลติมีเดียแบบ EXE เพื่อใช้สำหรับการเปิดฟังบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
- You Tube เพื่อสร้างภาพหรือวิดีโอและใส่ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไปยังเครื่องส่วนกลางไปยัง You Tube
- Flash การสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อนำไปใช้ในเว็บไซต์ของคุณ
- Autorun CD การแผ่นซีดีเพื่อให้เล่นโดยอัตโนมัติบนเครื่องคอมพิวเตอร์
- E – Mail Executable การสร้างจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบ EXE
- PC Screen Saver การสร้าง Screen Saver ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
ในการสร้างการแสดงผลต่างๆ สามารถที่จะทำได้ทั้งหมด แต่จะยกตัวอย่างการสร้างไฟล์ที่มีการสร้างกันมากหรือนิยมกันสร้าง เช่น Video, Web Show, Screen Saver เป็นต้น

การสร้างไฟล์วิดีโอ
รูปภาพ 36 แสดงการสร้าง Video File
- เมื่อคลิกที่แถบเมนู Create Output แล้วจะขึ้นไดอาล็อกเพื่อเลือกการสร้าง Output ต่างๆ
- เลือก Video File เพื่อทำการสร้างไฟล์วิดีโอ
- เลือกรูปแบบและลักษณะต่างๆ
- คลิกที่ Create
การบันทึกไฟล์วิดีโอ

รูปภาพ 37 แสดงการบันทึก Video File
- เมื่อคลิกที่ Create จะขึ้นไดอาล็อก Save Video File
- เลือกไดร์ฟ และโฟล์เดอร์ที่ต้องการจะบันทึกไฟล์วิดีโอ
- พิมพ์ชื่อไฟล์วิดีโอที่ File name
- กำหนดนามสกุลเป็น .mpg
- คลิก Save

การสร้าง Web Show
รูปภาพ 38 แสดงการสร้าง Web Show
- เมื่อคลิกที่แถบเมนู Create Output แล้วจะขึ้นไดอาล็อกเพื่อเลือกการสร้าง Output ต่างๆ
- เลือก Web Show เพื่อทำการสร้าง Web Show
- เลือก Theme โดยการคลิกที่รูปภาพด้านบนเพื่อกำหนดเป็นภาพพื้นหลัง
- เลือก Layout เพื่อกำหนดรูปแบบหน้าของ Web Show
- กำหนดหัวเรื่องที่ Title
- คลิกที่ Create
การบันทึก Web Show
รูปภาพ 39 แสดงการบันทึก Web Show
- เมื่อคลิกที่ Create จะขึ้นไดอาล็อก Save Web Show
- เลือกไดร์ฟ และโฟล์เดอร์ที่ต้องการจะบันทึก Web Show
- พิมพ์ชื่อ Web Show ที่ File name
- เลือก Save as type เป็น Photodex Presenter Stream
- คลิก Save
การสร้าง Screen Saver
รูปภาพ 40 แสดงการสร้าง Screen Saver
- เมื่อคลิกที่แถบเมนู Create Output แล้วจะขึ้นไดอาล็อกเพื่อเลือกการสร้าง Output ต่างๆ
- เลือก PC Screen Saver เพื่อทำการสร้าง Screen Saver ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
- พิมพ์หัวข้อหรือ Title
- คลิกที่ Create
รูปภาพ 41 แสดงการบันทึก Screen Saver
- เมื่อคลิกที่ Create จะขึ้นไดอาล็อก Save Screen Saver
- เลือกไดร์ฟ และโฟล์เดอร์ที่ต้องการจะบันทึก Web Screen Saver
- พิมพ์ชื่อ Web Screen Saver ที่ File name
- เลือก Save as type เป็น Screen Savers
- คลิก Save

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย

มัลติมีเดีย และเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีความสำคัญกับการเรียนการสอนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเรียนในระบบออนไลน์ หรือเรียนผ่านระบบเครือข่าย (e-Learning) เพราะการนำเทคโนโลยีทางด้านนี้มาใช้ เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมาก ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับระบบได้ และระบบสามารถเก็บข้อมูลสถิติการเรียน การทดสอบ และพัฒนาการของผู้เรียนไว้เป็นข้อมูลได้เช่นกัน นอกจากการเรียนดังกล่าว เทคโนโลยีมัลติมีเดียยังมีความสำคัญกับการให้บริการสารสนเทศในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเกิดผลดีต่อผู้ใช้ และเป็นการสร้างคุณค่าให้กับสารสนเทศนั้น ๆ ให้มีความสำคัญต่อผู้ใช้ เนื่องด้วยการเข้าถึงสารสนเทศนั้น ๆ ทั้งนี้นอกจากประโยชน์ต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วมัลติมีเดียยังมีข้อดีอีกมากมายดังนี้
1.เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียน ตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัย
ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่า สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
2. สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
3. สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง สามารถสร้างสถานการณ์จำลอง จำลองประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน (Authoring Tools) ที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
5. ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่
เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่างๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
6. สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เท่านั้น ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่ ตนเองต้องการ
7. เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ ทุกระดับอายุ และความรู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบ ให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
8. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียน หรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบครือข่าย ยังช่วยส่งเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ อีกด้วย

ข้อมูลจาก : http://gotoknow.org/blog/iaumba/75754

ขั้นตอนการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา

ขั้นตอนการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
1.ขั้นตอนการเตรียม
1.1 วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
เป็นการวิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้สร้างสามารถออกแบบสื่อได้สอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยคำนึงถึงลักษณะทั่วไป และลักษณะเฉพาะของกลุ่มเป้าหมายลักษณะทั่วไป ได้แก่ อายุ ระดับความรู้ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมาย
1.2 รวบรวมข้อมูล หมายถึง การเตรียมพร้อมทางด้านทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ทั้งในส่วนเนื้อหา (Materials) การพัฒนา และการออกแบบบทเรียน (Instruction Development) และสื่อในการนำเสนอบทเรียน (Instructional Delivery Systems)
1.3 งบประมาณ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงในการสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
1.4 บุคลากร ผู้ที่ทำหน้าที่ออกแบบ และพัฒนาสื่อมัลติมีเดียให้สำเร็จควรประกอบด้วยทีมของผู้ชำนาญการ

2. ขั้นตอนการออกแบบ
2.1 กำหนดวัตถุประสงค์ คือ การตั้งเป้าหมายว่า ผู้ใช้จะได้ความรู้ในเรื่องอะไร นอกจากนี้วัตถุประสงค์ยังออกแบบกิจกรรม และเลือกหัวข้อที่เหมาะสม เลือกวิธีการนำเสนอที่เหมาะสมได้เป็นต้น
2.2 การออกแบบเนื้อหา ผู้ออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหานั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง และควรมีความสามารถในการนำเสนอข้อมูล มีกลวิธีนำเสนอ และให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
2.3 การเขียนผังงาน คือ ชุดของสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม การเขียนผังงานเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ก็เพราะสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาที่ดี จะต้องมีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และปฏิสัมพันธ์นี้จะถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจนที่สุด ในรูปของสัญลักษณ์ ซึ่งแสดงกรอบการตัดสินใจ และกรอบเหตุการณ์
2.4 การเขียนสตอรี่บอร์ด การนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้ง สื่อในรูปของมัลติมีเดียต่างๆ ลงในกระดาษ เพื่อให้การนำเสนอข้อความ และสื่อในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป ขณะที่ผังงานนำเสนอลำดับ และขั้นตอนของการตัดสินใจ สตอรี่บอร์ดนำเสนอเนื้อหา และลักษณะของการนำเสนอ ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ดรวมไปถึงการเขียนสคริปต์ (ซึ่งสคริปต์ในที่นี้ คือ เนื้อหา) ที่ผู้ใช้จะได้เห็นบนหน้าจอซึ่งได้แก่ เนื้อหา ข้อมูล คำถาม ผลป้อนกลับ คำแนะนำ คำชี้แจง ข้อความเรียกความสนใจ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ

3. ขั้นตอนการสร้างโปรแกรม เป็นกระบวนการเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นสื่อมัลติมีเดีย โดยนำสตอรี่บอร์ดที่ได้มาแยกประเภทของสื่อ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ เป็นต้น แล้วจัดการสร้างสื่อ หรือแปลงสื่อให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ในคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง เช่น Adobe Photoshop, Macromedia Flash เป็นต้น

4.ขั้นตอนการประเมินผล
4.1 การประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดียการประเมินคุณภาพตัวสื่อมัลติมีเดีย ต้องกำหนดตัวบ่งชี้ เกณฑ์ และมาตรฐานที่เหมาะสมกับสื่อมัลติมีเดีย และการกำหนดประเด็นองค์ประกอบ หรือหัวข้อการประเมิน จะต้องพิจารณาจากส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ คุณภาพด้านการออกแบบการสอน การออกแบบหน้าจอ และการใช้งาน
4.2 การประเมินการเรียนรู้จากการใช้สื่อมัลติมีเดียการประเมินการเรียนรู้จากการใช้สื่อมัลติมีเดีย จะเป็นการตรวจสอบความรู้ของผู้ใช้ที่ได้รับจากการศึกษาสื่อมัลติมีเดียนั้น ๆ ดังนั้นในระหว่างที่นำสื่อไปทดลองใช้ ผู้ประเมินจะต้องสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของผู้ใช้เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่พูด หรือกระทำ เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงสื่อให้ดียิ่งขึ้น

5.ขั้นตอนการปรับปรุง และการเผยแพร่ข้อมูล
5.1 ขั้นตอนการปรับปรุงข้อมูล เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะเนื้อหาสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
5.2 ขั้นตอนการเผยแพร่ข้อมูล การส่งผ่านข้อมูล หรือเนื้อหาบทเรียนให้แก่ผู้เรียน ผู้สอนจะต้องทราบเทคนิคการเลือกใช้สื่อมัลติมีเดียชนิดต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับเนื้อหา โอกาส และข้อจำกัดของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลจาก : http://learners.in.th/blog/orasa-pan/76916